เมนู

[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า ปุริสทมฺมสารถิ]


พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า ปุริสทมฺมสารถิ
เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ยังบุรุษผู้พอจะฝึกได้ให้แล่นไป. มีอธิบายไว้ว่า
ย่อมฝึก คือแนะนำ. สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ก็ดี มนุษย์ผู้ชายก็ดี อมนุษย์ผู้ชายก็ดี
ผู้ที่ยังมิได้ฝึก ควรเพื่อจะฝึกได้ ชื่อว่า ปุริสทัมมา ในคำว่า ปุริสทมฺมสารถิ
นั้น. จริงอย่างนั้น แม้สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ มีอาทิอย่างนี้ คือ อปลาลนาคราช
จุโฬทรนาคราช มโหทรนาคราช อัคคิสิขนาคราช ธูมสิขนาคราช อาลวาฬ
นาคราช (และ) ช้างชื่อธนบาลก์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว คือทรง
ทำให้สิ้นพยศแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย. แม้มนุษย์ผู้ชายมีสัจจก-
นิครณฐบุตร อัมพัฏฐมาณพ โปกขรสาติพราหมณ์ โสณทัณฑพราหมณ์
และกูฏทันตพราหมณ์เป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว. แม้อมนุษย์
ผู้ชาย มีอาฬวกยักษ์ สูจิโลมยักษ์ ขรโลกยักษ์ และท้าวสักกเทวราชเป็นต้น
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว คือทรงแนะนำแล้ว ด้วยอุบายเครื่องแนะนำ
อย่างวิจิตร. ก็แลในอรรถนี้ควรยังพระสูตรนี้ให้พิสดารดังนี้ ดุก่อนนายเกสี !
เราย่อมฝึกบุรุษผู้พอจะฝึกได้ ด้วยอุบายละเอียดบ้าง หยาบบ้าง ทั้งละเอียด
ทั้งหยาบบ้าง.*
อีกอย่างหนึ่ง สองบทว่า อนตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ นี้รวมเป็น
อรรถบทเดียวกันก็ได้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังบุรุษ ผู้ควรจะฝึก
ได้ให้แล่นไป เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าทั้งหลายประทับนั่งอยู่โดยบัลลังก์เดียว
เท่านั้น ทรงเล่นไปได้ไม่ติดขัดตลอดทิศทั้ง 8 ฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า บัณฑิตจึงเรียกว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ( เป็นสารถีผู้ฝึก
* องฺ . จตุกฺก. 21/181.

บุรุษที่พอจะฝึกได้ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า). ก็แลในอรรถนี้ ควรยังพระสูตรนี้ให้
พิสดารดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ช้างตัวควรฝึกให้ได้ อันนายควาญช้างใส
ไปแล้ว ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น.1

[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า สตฺถา]


พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระนามว่า สัตถา (เป็น
พระศาสดา) เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ทรงสั่งสอน (สรรพสัตว์) ด้วยประโยชน์
ปัจจุบัน ด้วยประโยชน์ภายหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งตามสมควร. อีกอย่างหนึ่ง
ก็ในบทว่า สตฺถา นี้ พึงทราบใจความนิเทศนัยมีอาทิดังนี้ว่า คำว่า สตฺถา
ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นดุจนายพวก. เหมือนอย่างว่า นายพวก
ย่อมพาพวกให้เวียนข้ามทางกันดาร คือให้เวียนข้ามทางกันดารเพราะโจร
กันดารเพราะสัตว์ร้าย กันดารเพราะข้าวแพง กันดารเพราะไม่มีน้ำ คือย่อม
ให้ข้ามพ้น ให้ข้ามไป ให้ข้ามถึง ได้แก่ให้บรรลุถึงถิ่นที่เกษม ฉันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงเป็นพระศาสนา คือทรงเป็นดุจ
นายพวก ทำเหล่าสัตว์ให้เวียนข้ามทางกันดาร ได้แก่ให้เวียนข้ามทางกันดาร
คือชาติ2 เป็นต้น.

[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า เทวมนุสฺสานํ]


บทว่า เทวมนุสฺสานํ แปลว่า ของเทวดาทั้งหลายด้วย ของมนุษย์
ทั้งหลายด้วย. คำว่า เทวมนุสฺสานํ นั่น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ด้วยอำนาจกำหนด
สัตว์ชั้นสูง และด้วยอำนาจการกำหนดภัพพบุคคล (บุคคลผู้ควรตรัสรู้มรรคผล).
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าทรงเป็นพระศาสดา แม้ของพวก
สัตว์ดิรัจฉาน เพราะทรงประทานอนุสาสนีให้เหมือนกัน. จริงอยู่ สัตว์ดิรัจฉาน
1. ม. อ 14/407. 2. ขุ. จู. 30/313